เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธเธตเนˆเธ›เธธเนˆเธ™ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธˆเธญเธฃเนŒเนเธ”เธ™ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธญเธตเธขเธดเธ›เธ•เนŒ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเน€เธงเธตเธขเธ”เธ™เธฒเธก l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธฃเธฑเธชเน€เธ‹เธตเธข l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธ เธนเธเธฒเธ™ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธžเธกเนˆเธฒ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธขเธธเน‚เธฃเธ› l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธ•เธธเธฃเธเธต l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเน‚เธกเธฃเน‡เธญเธเน‚เธ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธ›เธฒเธเธตเธชเธ–เธฒเธ™ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธˆเธญเธฃเนŒเน€เธˆเธตเธข l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเน€เธ™เธ›เธฒเธฅ
เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเธŠเน‰เธฒเธ‡เธ™เน‰เธญเธข เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเธŠเน‰เธฒเธ‡เธ™เน‰เธญเธข เธงเธดเธ˜เธตเธเธฒเธฃเธŠเธณเธฃเธฐเน€เธ‡เธดเธ™ เน‚เธ›เธฃเนเธเธฃเธกเธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธ•เนˆเธฒเธ‡เธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจ เน‚เธ›เธฃเนเธเธฃเธกเธ—เธฑเธงเธฃเนŒเนƒเธ™เธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจ เธŠเน‰เธฒเธ‡เธ™เน‰เธญเธข เธฎเธญเธฅเธดเน€เธ”เธขเนŒ ๏ฟฝิด๏ฟฝ๏ฟฝอช๏ฟฝาง๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวกับ๏ฟฝ๏ฟฝาง๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝับ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝีซ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝาง๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝในป๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ
เน‚เธ›เธฃเนเธเธฃเธกเธ—เธฑเธงเธฃเนŒเนƒเธ™เธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจ
เน‚เธ›เธฃเนเธเธฃเธกเธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธ•เนˆเธฒเธ‡เธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจ
เธเธฃเธธเนŠเธ›เน€เธซเธกเธฒ เธ—เธฑเธจเธ™เธจเธถเธเธฉเธฒ เธ”เธนเธ‡เธฒเธ™
เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ”เน‰เธฒเธ™เธงเธตเธ‹เนˆเธฒ
เธงเธดเธ˜เธตเธเธฒเธฃเธŠเธณเธฃเธฐเน€เธ‡เธดเธ™
เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเน€เธฃเธฒ
เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเน€เธฃเธฒ
เน€เธ‚เธ•เธฃเธฑเธเธฉเธฒเธžเธฑเธ™เธ˜เธธเนŒเธชเธฑเธ•เธงเนŒเธ›เนˆเธฒ
เน€เธเธฒเธฐเนƒเธ™เธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เน€เธ—เธจเธเธฒเธฅเนเธฅเธฐเธ‡เธฒเธ™เธ›เธฃเธฐเน€เธžเธ“เธต
เธžเธฃเธฐเธ˜เธฒเธ•เธธเธ›เธฃเธฐเธˆเธณเธ›เธตเน€เธเธดเธ”
เนเธœเธ™เธ—เธตเนˆเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธญเธธเธ—เธขเธฒเธ™เนเธซเนˆเธ‡เธŠเธฒเธ•เธด
เธญเธธเธ—เธขเธฒเธ™เธ›เธฃเธฐเธงเธฑเธ•เธดเธจเธฒเธชเธ•เธฃเนŒ
เธงเธ™เธญเธธเธ—เธขเธฒเธ™
Unseen in Thailand
เน€เธ—เธตเนˆเธขเธงเธ—เธฑเนˆเธงเน„เธ—เธข 77 เธˆเธฑเธ‡เธซเธงเธฑเธ”
เธเธฒเธฃเธ‚เธญเธกเธตเธซเธ™เธฑเธ‡เธชเธทเธญเน€เธ”เธดเธ™เธ—เธฒเธ‡
เธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเธ—เธตเนˆเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธ‚เธญเธงเธตเธ‹เนˆเธฒ
เธเธฑเธกเธžเธนเธŠเธฒ เธฅเธฒเธง เน€เธงเธตเธขเธ”เธ™เธฒเธก เธžเธกเนˆเธฒ
เธกเธฒเน€เธฅเน€เธ‹เธตเธข เธญเธดเธ™เน‚เธ”เธ™เธตเน€เธ‹เธตเธข เธชเธดเธ‡เธ„เน‚เธ›เธฃเนŒ
เธˆเธตเธ™ เน€เธเธฒเธซเธฅเธต เธเธตเนˆเธ›เธธเนˆเธ™ เน„เธ•เน‰เธซเธงเธฑเธ™
เธ•เธธเธฃเธเธต เธญเธดเธ™เน€เธ”เธตเธข เน€เธ™เธ›เธฒเธฅ เธ เธนเธเธฒเธ™

เกาะตะรุเตา

     กาะตะรุเตา มีพื้นที่ 152 ตารางกิโลเมตร สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาที่มีสภาพเป็นป่าดิบชื้นซึ่งยังมีพรรณไม ้และสัตว์ป่าที่น่าสนใจจำนวนไม่น้อย และมีพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นป่าชายเลน นอกจากนี้ยังมีอ่าวน้อยใหญ่ที่มีชายหาดสวยงามอยู่หลายแห่ง และในท้องทะเลของเกาะตะรุเตายังมีพันธุ์ปลามากมายหลายชนิดรวมทั้งเต่าทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 4 ชนิด คำว่า “ตะรุเตา” นี้ เพี้ยนมาจาก คำว่า “ตะโละเตรา” ในภาษามลายูแปลว่า มีอ่าวมาก

เกาะตะรุเตา
เกาะตะรุเตา

     นอกจากสภาพธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์แล้ว เกาะตะรุเตายังมีประวัติศาสตร์ที่น่าจดจำ โดยในปี พ.ศ. 2479 รัฐบาลมีนโยบายให้กรมราชทัณฑ์จัดหาสถานที่เพื่อจัดตั้งนิคมฝึกอาชีพ และเป็นสถานที่กักกันนักโทษ เกาะตะรุเตาซึ่งอยู่ห่างไกลจากฝั่ง เต็มไปด้วยปัจจัยทางธรรมชาติที่เป็นอุปสรรคต่อการหลบหนี ก็ได้ถูกกำหนดให้เป็นสถานที่จัดตั้งนิคมดังกล่าว มีการจัดสร้างอาคารที่ทำการ บ้านพักของผู้คุม เรือนนอนนักโทษ และโรงฝึกอาชีพขึ้นที่อ่าวตะโละวาว และอ่าว ตะโละอุดัง ในปี พ.ศ.2481 นักโทษชุดแรกจำนวน 500 คนก็ได้เดินทางมายังตะรุเตา และทยอยเข้ามาอีกเรื่อยๆ จนมีนักโทษเพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 3,000 คน และในช่วงปี พ.ศ.2482 รัฐบาลได้ส่งนักโทษการเมือง 70 คน ซึ่งเป็นกลุ่มนักโทษจากเหตุการณ์กบฏบวรเดชและกบฏนายสิบ มากักบริเวณอยู่ที่อ่าวตะโละอุดัง

      ในปี พ.ศ.2484 สงครามโลกครั้งที่ 2 ที่อุบัติขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อนิคมฝึกอาชีพตะรุเตา เนื่องจากเกิดภาวะขาดแคลนอาหาร และยารักษาโรค นักโทษเจ็บป่วยล้มตายลงเป็นจำนวนมาก ผู้คุมและนักโทษจำนวนหนึ่งจึงได้ออกปล้นสะดมเรือสินค้าที่ผ่านไปมาในน่านน้ำบริเวณช่องแคบมะละกา จนทำให้เรือสินค้าไม่กล้าล่องเรือผ่านมาในบริเวณนั้น ในปี พ.ศ.2489 รัฐบาลอังกฤษซึ่งปกครองมลายูอยู่ในขณะนั้นได้ขออนุญาตจากรัฐบาลไทยในการส่งกองกำลังเข้าปราบปรามโจรสลัดตะรุเตาจนสำเร็จ ต่อมากรมราชทัณฑ์ได้ประกาศยกเลิกนิคมฝึกอาชีพตะรุเตา และหลังจากนั้นเกาะ ตะรุเตาก็ถูกทิ้งร้างเป็นเวลา 26 ปี จนกระทั่งวันที่ 19 เมษายน พ.ศ.2517 กรมป่าไม้ในขณะนั้น ได้ประกาศจัดตั้งอุทยานแห่งชาติตะรุเตาขึ้น โดยนับเป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลแห่งแรกของประเทศไทย

เกาะตะรุเตา
เกาะตะรุเตา

สถานที่น่าสนใจบนเกาะตะรุเตา

     อ่าวพันเตมะละกา มีชายหาดยาวขาวสะอาด เป็นที่ตั้งของที่ทำการอุทยานแห่งชาติตะรุเตา และศูนย์บริการนักท่องเที่ยวซึ่งส่วนหนึ่งจัดเป็นนิทรรศการเกี่ยวกับเรื่องของธรรมชาติและประวัติศาสตร์ของเกาะตะรุเตา อ่าวพันเตมะละกายังเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกที่สวยงาม และจากอ่าวพันเตมะละกา ยังสามารถเดินขึ้นไปยังจุดชมวิวผาโต๊ะบู ได้อีกด้วย

      อ่าวจาก เป็นอ่าวเล็กๆ ติดต่อกับอ่าวพันเตมะละกา บรรยากาศเงียบสงบ เหมาะต่อการพักผ่อน

      อ่าวเมาะและ ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ 4 กิโลเมตร มีหาดทรายขาวสะอาด และดงมะพร้าวสวยงาม เงียบสงบ มีบังกะโลเหมาะสำหรับพักผ่อน เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว

      อ่าวสน ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ 8 กิโลเมตร เป็นอ่าวรูปโค้งที่มีหาดทรายสลับกับหาดหิน และเป็นที่วางไข่ของเต่าทะเล มีจุดกางเต็นท์ บริการอาหารและเครื่องดื่ม มีน้ำตกขนาดเล็กคือ น้ำตกลูดู และน้ำตกโละโป๊ะ เหมาะสำหรับเดินป่าศึกษาธรรมชาติ

      อ่าวตะโละวาว อยู่ทิศตะวันออกของเกาะ เป็นจุดที่สามารถชมดวงอาทิตย์ขึ้นที่สวยงามอีกมุมหนึ่ง เป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ ที่ ตต.1 (ตะโละวาว) พื้นที่ประวัติศาสตร์แห่งนี้เคยเป็นสถานที่ตั้งนิคมฝึกอาชีพสำหรับนักโทษกักกันและนักโทษอุกฉกรรจ์ ปัจจุบันทางอุทยานฯได้จำลองอาคารสถานที่ที่เคยอยู่ในนิคมฝึกอาชีพ เช่น บ้านพักของผู้คุม เรือนนอนของนักโทษ โรงฝึกอาชีพ หลุมศพ 700 ศพ ไว้ในบริเวณดังกล่าว

      อ่าวตะโละอุดัง อยู่ทางทิศใต้ของเกาะ ห่างจากเกาะลังกาวี 8 กิโลเมตร จุดเด่นคือ มีหินซีกขนาดใหญ่ตั้งเด่นเป็นสัญลักษณ์ด้านหน้าอ่าว มีสะพานสำหรับเรือจอด และเป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานฯที่ ตต.2 (ตะโละอุดัง) ในอดีตเคยเป็นที่กักกันนักโทษการเมือง กลุ่มนักโทษจากเหตุการณ์กบฏบวรเดช และกบฏนายสิบ

      น้ำตกลูดู เป็นน้ำตกขนาดเล็กที่มีความสวยงาม อยู่ห่างจากอ่าวสนประมาณ 3 กิโลเมตร ซึ่งจากบริเวณอ่าวสนมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติไปยังน้ำตกลูดู
ถ้ำจระเข้ เป็นถ้ำที่มีความลึกประมาณ 300 เมตร ภายในมีหินงอกหินย้อยสวยงามและมีลักษณะแตกต่างกันไป การเดินทางไปถ้ำจระเข้ต้องนั่งเรือหางยาวไปตามคลองพันเตมะละกา ซึ่งอุดมไปด้วยป่าชายเลนที่มีไม้โกงกางจำนวนมากตลอดสองฝั่งคลองโดยใช้เวลาล่องเรือประมาณ 20 นาทีและใช้เวลาชมถ้ำประมาณหนึ่งชั่วโมง ติดต่อได้ที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวของอุทยานฯ ผู้ที่จะเที่ยวชมภายในตัวถ้ำควรนำไฟฉายไปด้วย

     จุดชมวิว “ผาโต๊ะบู” เป็นหน้าผาสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 60 เมตร เส้นทางเดินขึ้นไปตามแนวป่าดิบแล้ง ใช้เวลาเดินขึ้นจุดชมวิวประมาณ 20 นาที อยู่ด้านหลังที่ทำการอุทยานฯ เป็นจุดชมทิวทัศน์ของเกาะบริเวณชายหาด

      อ่าวพันเตมะละกา จะเห็นเกาะบุโหลน เกาะกลาง เกาะไข่ เกาะอาดัง เกาะราวี หมู่เกาะเภตรา และเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกที่สวยงามอีกมุมหนึ่ง

กิจกรรมบนเกาะตะรุเตา
     เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ จากที่ทำการอุทยานฯ บริเวณอ่าวพันเตมะละกามีเส้นทางเดินเท้าผ่านป่าดงดิบไปอ่าวตะโละวาว ระยะทาง 12 กิโลเมตร สองข้างทางสภาพเป็นป่าดงดิบหนาทึบ ร่มรื่นด้วยไม้นานาพรรณ มีสัตว์ป่า เช่น หมูป่า กระจง และนกน่าสนใจหลายชนิด โดยเฉพาะนกเงือกที่พบได้บ่อย
อีกเส้นทางหนึ่งไปอ่าวจาก อ่าวเมาะและจนถึงอ่าวสน ระยะทาง 8 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง จะผ่านป่าดงดิบที่อุดมสมบูรณ์ และยังเหมาะแก่การดูนกเช่นนกเงือก นกแซงแซว

     เส้นทางล่องเรือรอบเกาะ เพื่อศึกษาธรรมชาติแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยอุทยานฯจะจัดเรือบริการพร้อมเจ้าหน้าที่นำทางชมหาดทรายต่าง ๆ เริ่มจากแวะดูนกที่อ่าวจาก ชมหาดทรายขาวและยาวที่สุดบนเกาะตะรุเตาที่อ่าวสน ศึกษาร่องรอยประวัติศาสตร์ที่อ่าวตะโละอุดัง ชมธรรมชาติที่อ่าวตะโละวาว แวะดำน้ำและเที่ยวป่าชายเลน ใช้เวลาในการล่องเรือ 1 วัน ผู้สนใจติดติดได้ที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวบนเกาะ

ที่พัก
ในเขตอุทยานฯ มีบ้านพักไว้บริการนักท่องเที่ยวบนเกาะตะรุเตาและเกาะอาดัง สอบถามรายละเอียดได้ที่ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช โทร. 0 2562 0760, www.dnp.go.th หรือ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติตะรุเตา บริเวณท่าเรือปากบารา ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล 91110โทร. 0 7478 3485, 0 7478 3597, 0 7478 1285 หรือ หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติตะรุเตาที่ ต.ต.1 (อ่าวพันเตมะละกา) บนเกาะตะรุเตา โทร. 0 7472 9002-3

การเดินทาง
การเดินทางสู่อุทยานแห่งชาติตะรุเตา และหมู่เกาะต่าง ๆ ในพื้นที่อุทยานฯ
ท่าเรือปากบารา อยู่ห่างจากอำเภอละงูประมาณ 8 กิโลเมตร ตั้งอยู่ที่ปากคลองละงู ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู เป็นท่าเรือที่อยู่ใกล้เกาะตะรุเตามากที่สุด ระยะทางประมาณ 22 กิโลเมตร และใกล้ท่าเรือเป็นที่ตั้งของศูนย์บริการนักท่องเที่ยว อุทยานแห่งชาติตะรุเตา

จากจังหวัดตรัง – ท่าเรือปากบารา
รถโดยสารประจำทาง ตรัง – สตูล ออกจากตัวเมืองตรัง ถนนรัษฎา ทุก ๆ 1 ชั่วโมง มีบริการตั้งแต่เวลา 06.00-17.00 น. ลงที่สามแยกเข้าละงู ต่อด้วยรถสองแถวไปท่าเรือปากบารา ใช้เวลาเดินทางทั้งสิ้นประมาณ 2 ชั่วโมง
รถแท็กซี่ ตรัง – สตูล ออกจากตัวเมืองตรัง ถนนรัษฎา ติดกับคิวรถโดยสารประจำทาง มีบริการตั้งแต่เวลา06.00-17.30 น. ของทุกวัน ผ่านอำเภอย่านตาขาว อำเภอปะเหลียน ลงที่สามแยกเข้าอำเภอละงู ต่อด้วยรถสองแถวหรือมอเตอร์ไซด์รับจ้างสู่ท่าเรือปากบารา
รถตู้ เฉพาะช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว (ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-เมษายนของทุกปี) จาก หน้าสถานีรถไฟตรัง มีบริการรถตู้โดยสารวันละ 2 เที่ยว เวลา 09.30 น. และ 11.30 น. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดได้ที่ บริษัท เค.เค ทราเวล แอนด์ ทัวร์ โทร. 0 7521 1198

จากอำเภอเมือง จังหวัดสตูล-ท่าเรือปากบารา
รถยนต์ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 406 ถึงบ้านฉลุง แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 416 (สตูล-ละงู) ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 4052 ซึ่งแยกจาก อำเภอละงู ตรงไปสู่ท่าเรือปากบารา ระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร
รถโดยสาร มีรถแท็กซี่โดยสารสายสตูล-ปากบารา ออกจากตัวเมืองสตูล บริเวณข้างธนาคารกรุงเทพ สาขาสตูล วิ่งบริการวันละหลายเที่ยว นอกจากนี้ยังมีรถสองแถวและรถตู้ วิ่งบริการจากบริเวณตัวเมืองด้วย

จากอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา-ท่าเรือปากบารา
รถยนต์ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 406 ถึงบ้านฉลุง จังหวัดสตูล แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 416 (สตูล-ละงู) ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 4052 ซึ่งแยกจาก อำเภอละงู ตรงไปสู่ท่าเรือปากบารา
รถตู้โดยสาร จอดที่หน้าตลาดเกษตรฯ ถนนเพชรเกษม ตั้งแต่เวลา 07.30-18.30 น. รถจะออกทุก 1 ชั่วโมง ใช้เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง (สามารถนั่งรถตุ๊ก ๆ จากหน้าสถานีรถไฟไปลงที่ตลาดเกษตรฯราคา 10 บาท) สอบถามรายละเอียดได้ที่ บริษัท สตูลขนส่ง จำกัด (คิวรถตู้หาดใหญ่) โทร. 0 7424 5655

ตารางเดินเรือไปยังหมู่เกาะตะรุเตาและเกาะหลีเป๊ะ ของบริษัทต่างๆ จากท่าเรือปากบารา
ในช่วงเทศกาลท่องเที่ยวตะรุเตาประมาณเดือนพฤศจิกายน-เมษายน มีบริการเรือโดยสารสู่เกาะต่างๆ ในเขตอุทยานแห่งชาติตะรุเตา จำนวน 5 บริษัท (ตารางและเวลาเดินเรืออาจมีการเปลี่ยนแปลง กรุณาสอบถามรายละเอียดก่อนเดินทาง)

1. เรือสปีดโบ้ท / Speed Boat จำนวน 3 บริษัท
1.1 บันดาหยา สปีดโบ้ท โทร. 08 9963 2377
1.2 หลีเป๊ะ เฟอรี่ แอนด์ สปีดโบ้ท โทร. 08 1609 1413, 08 1598 3111
1.3 ฟอร์ร่า แทรเวล แอนไดวิ่ง จำกัด โทร. 08 1478 2335

2.เรือเฟอร์รี่โดยสารทั่วไป
2.1 อาดัง ซี ทัวร์ โทร. 08 1892 2656, 08 9873 7173
2.2 ฟอร์ร่า แทรเวล แอนไดวิ่ง จำกัด โทร. 08 1478 2335
2.3 บริษัท ไทเกอร์ ไลน์ ทราเวล จำกัด (เรือเฟอรี่ด่วนปรับอากาศ) โทร.08 1358 8989

3.เรือไม้โดยสารสำหรับเช่าเหมาลำ ผู้โดยสารตั้งแต่ 20 คนขึ้นไป
ติดต่อสอบถามได้ที่ บริษัทวาสนา ทัวร์ โทร. 0 7472 2143 , 711782

ระยะทางจากท่าเรือ-เกาะต่าง ๆ
ท่าเรือปากบารา - อ่าวพันเตมะละกา (เกาะตะรุเตา) 22 กิโลเมตร
- เกาะอาดัง 80 กิโลเมตร
- เกาะหลีเป๊ะ 82 กิโลเมตร
เกาะตะรุเตา - หมู่เกาะอาดัง-ราวี 40 กิโลเมตร
- เกาะหลีเป๊ะ 40 กิโลเมตร
- เกาะไข่ 14.5 กิโลเมตร
เกาะอาดัง - เกาะหลีเป๊ะ 2 กิโลเมตร
- เกาะหินงาม 2.5 กิโลเมตร
- เกาะไข่ 17 กิโลเมตร

ภาคเหนือ : เชียงราย : เชียงใหม่ : น่าน : พะเยา : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : อุตรดิตถ์
ภาคกลาง : กรุงเทพฯ : กำแพงเพชร : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นครสวรรค์ : นนทบุรี : ปทุมธานี : พระนครศรีอยุธยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสงคราม : สมุทรสาคร : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : สุโขทัย : อ่างทอง : อุทัยธาน
ภาคตะวันออก
เฉียงเหนือ
: กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา : บุรีรัมย์ : บึงกาฬ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : สกลนคร : สุรินทร์ : ศรีสะเกษ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อุดรธานี : อุบลราชธานี : อำนาจเจริญ
ภาคตะวันออก : จันทบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชลบุรี : ตราด : ปราจีนบุรี : ระยอง : สระแก้ว
ภาคตะวันตก : กาญจนบุรี : ตาก : ประจวบคีรีขันธ์ : เพชรบุรี : ราชบุรี
ภาคใต้ : กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พังงา : พัทลุง : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธาน

สตูล

ข้อมูลท่องเที่ยวสตูล

จังหวัดสตูล
อำเภอเมือง
     เกาะไข่
     เกาะตะรุเตา
     เกาะหินงาม
     เกาะหินซ้อน
     เกาะหลีเป๊ะ
     เกาะอาดัง-ราวี
อำเภอควนโดน
    
อำเภอควนกาหลง

    
อำเภอท่าแพ

    
อำเภอละงู

    
อำเภอทุ่งหว้า

    
อำเภอมะนัง

    

ที่พักสตูล


เธšเธฃเธดเธฉเธฑเธ— เธŠเน‰เธฒเธ‡เธ™เน‰เธญเธข เธฎเธญเธฅเธดเน€เธ”เธขเนŒ เธˆเธณเธเธฑเธ”

100/19 เธซเธกเธนเนˆเธšเน‰เธฒเธ™เธชเธดเธฃเธ˜เธฒเธ™เธต เธกเธซเธฒเธชเธงเธฑเธชเธ”เธดเนŒ เธšเธฒเธ‡เธเธฃเธงเธข เธ™เธ™เธ—เธšเธธเธฃเธต 11130
โทรศัพเธ—เนŒ 090 909 9499 Line : @ChangnoiHoliday Facebook : @ChangnoiHoliday
Copyright © 2552 Changnoi Holiday Co., Ltd. All rights reserved. Powered by Lakkai Cyber

เธš
เธฃเธดเธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธ™เธณเน€เธ—เธตเนˆเธขเธง เธ—เธฑเน‰เธ‡เนƒเธ™เนเธฅเธฐเธ•เนˆเธฒเธ‡เธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจ เธ—เธธเธเธ—เธตเนˆ เธ—เธตเนˆเธ„เธธเธ“เธญเธขเธฒเธเน„เธ› เนƒเธ™เธฃเธฒเธ„เธฒเธ—เธตเนˆเธ„เธธเธ“เธเธณเธซเธ™เธ”เน„เธ”เน‰
เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธญเธดเธ™เน€เธ”เธตเธข l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธชเธงเธดเธช l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเน‚เธ„เธฃเน€เธญเน€เธŠเธตเธข l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธฎเนˆเธญเธ‡เธเธ‡ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเน„เธ•เน‰เธซเธงเธฑเธ™ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธญเธฑเธ‡เธเธคเธฉ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธˆเธญเธฃเนŒเน€เธˆเธตเธข l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธˆเธตเธ™ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธเธฑเธกเธžเธนเธŠเธฒ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเน€เธเธฒเธซเธฅเธต l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธšเธฃเธนเน„เธ™ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธ”เธนเน„เธš l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธกเธฑเธฅเธ”เธตเธŸเธชเนŒ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธขเธนเน€เธ„เธฃเธ™ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธญเธดเธ•เธฒเธฅเธต l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธŸเธดเธฅเธดเธ›เธ›เธดเธ™เธชเนŒ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธกเธฒเน€เธเนŠเธฒ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธจเธฃเธตเธฅเธฑเธ‡เธเธฒ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเนเธ„เธ™เธฒเธ”เธฒ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธ™เธดเธงเธ‹เธตเนเธฅเธ™เธ”เนŒ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธญเธญเธชเน€เธ•เธฃเน€เธฅเธตเธข l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธ”เธนเธšเธญเธฅ l เธฃเธฑเธšเธ—เธณเธงเธตเธ‹เนˆเธฒ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเน€เธ‚เธฒเธชเธ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธซเธฅเธตเน€เธ›เนŠเธฐ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธ™เนˆเธฒเธ™ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธชเธดเธกเธดเธฅเธฑเธ™ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธžเธตเธžเธต l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธ เธนเธเธฃเธฐเธ”เธถเธ‡ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธ เธนเธชเธญเธขเธ”เธฒเธง l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเน€เธŠเธตเธขเธ‡เธ„เธฒเธ™ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธชเธฒเธกเธžเธฑเธ™เน‚เธšเธ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธ—เธตเธฅเธญเธ‹เธน l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธ›เธฒเธข