เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธเธตเนˆเธ›เธธเนˆเธ™ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธˆเธญเธฃเนŒเนเธ”เธ™ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธญเธตเธขเธดเธ›เธ•เนŒ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเน€เธงเธตเธขเธ”เธ™เธฒเธก l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธฃเธฑเธชเน€เธ‹เธตเธข l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธ เธนเธเธฒเธ™ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธžเธกเนˆเธฒ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธขเธธเน‚เธฃเธ› l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธ•เธธเธฃเธเธต l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเน‚เธกเธฃเน‡เธญเธเน‚เธ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธ›เธฒเธเธตเธชเธ–เธฒเธ™ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธˆเธญเธฃเนŒเน€เธˆเธตเธข l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเน€เธ™เธ›เธฒเธฅ
เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเธŠเน‰เธฒเธ‡เธ™เน‰เธญเธข เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเธŠเน‰เธฒเธ‡เธ™เน‰เธญเธข เธงเธดเธ˜เธตเธเธฒเธฃเธŠเธณเธฃเธฐเน€เธ‡เธดเธ™ เน‚เธ›เธฃเนเธเธฃเธกเธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธ•เนˆเธฒเธ‡เธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจ เน‚เธ›เธฃเนเธเธฃเธกเธ—เธฑเธงเธฃเนŒเนƒเธ™เธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจ เธŠเน‰เธฒเธ‡เธ™เน‰เธญเธข เธฎเธญเธฅเธดเน€เธ”เธขเนŒ ๏ฟฝิด๏ฟฝ๏ฟฝอช๏ฟฝาง๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝวกับ๏ฟฝ๏ฟฝาง๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝับ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝีซ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝาง๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝในป๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ
เน‚เธ›เธฃเนเธเธฃเธกเธ—เธฑเธงเธฃเนŒเนƒเธ™เธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจ
เน‚เธ›เธฃเนเธเธฃเธกเธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธ•เนˆเธฒเธ‡เธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจ
เธเธฃเธธเนŠเธ›เน€เธซเธกเธฒ เธ—เธฑเธจเธ™เธจเธถเธเธฉเธฒ เธ”เธนเธ‡เธฒเธ™
เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ”เน‰เธฒเธ™เธงเธตเธ‹เนˆเธฒ
เธงเธดเธ˜เธตเธเธฒเธฃเธŠเธณเธฃเธฐเน€เธ‡เธดเธ™
เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเน€เธฃเธฒ
เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเน€เธฃเธฒ
เน€เธ‚เธ•เธฃเธฑเธเธฉเธฒเธžเธฑเธ™เธ˜เธธเนŒเธชเธฑเธ•เธงเนŒเธ›เนˆเธฒ
เน€เธเธฒเธฐเนƒเธ™เธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เน€เธ—เธจเธเธฒเธฅเนเธฅเธฐเธ‡เธฒเธ™เธ›เธฃเธฐเน€เธžเธ“เธต
เธžเธฃเธฐเธ˜เธฒเธ•เธธเธ›เธฃเธฐเธˆเธณเธ›เธตเน€เธเธดเธ”
เนเธœเธ™เธ—เธตเนˆเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธญเธธเธ—เธขเธฒเธ™เนเธซเนˆเธ‡เธŠเธฒเธ•เธด
เธญเธธเธ—เธขเธฒเธ™เธ›เธฃเธฐเธงเธฑเธ•เธดเธจเธฒเธชเธ•เธฃเนŒ
เธงเธ™เธญเธธเธ—เธขเธฒเธ™
Unseen in Thailand
เน€เธ—เธตเนˆเธขเธงเธ—เธฑเนˆเธงเน„เธ—เธข 77 เธˆเธฑเธ‡เธซเธงเธฑเธ”
เธเธฒเธฃเธ‚เธญเธกเธตเธซเธ™เธฑเธ‡เธชเธทเธญเน€เธ”เธดเธ™เธ—เธฒเธ‡
เธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเธ—เธตเนˆเน„เธกเนˆเธ•เน‰เธญเธ‡เธ‚เธญเธงเธตเธ‹เนˆเธฒ
เธเธฑเธกเธžเธนเธŠเธฒ เธฅเธฒเธง เน€เธงเธตเธขเธ”เธ™เธฒเธก เธžเธกเนˆเธฒ
เธกเธฒเน€เธฅเน€เธ‹เธตเธข เธญเธดเธ™เน‚เธ”เธ™เธตเน€เธ‹เธตเธข เธชเธดเธ‡เธ„เน‚เธ›เธฃเนŒ
เธˆเธตเธ™ เน€เธเธฒเธซเธฅเธต เธเธตเนˆเธ›เธธเนˆเธ™ เน„เธ•เน‰เธซเธงเธฑเธ™
เธ•เธธเธฃเธเธต เธญเธดเธ™เน€เธ”เธตเธข เน€เธ™เธ›เธฒเธฅ เธ เธนเธเธฒเธ™

อุทยานแห่งชาติลานสาง

     ตามตำนานกล่าวมา ในสมัยที่ป่าลานสางยังอุดมสมบูรณ์อย่างเต็มที่เมื่อประมาณ 200 กว่าปี สมเด็จพระเจ้าตากสินได้ยกทัพไปตีเชียงใหม่ครั้งที่ 2 ทรงหยุดพักพลที่บ้านระแหง แขวงเมืองตาก มีพวกมอญหนีพม่าเข้ามาสวามิภักดิ์ พระเจ้าตากสินได้ยกทัพเข้าตีขับไล่พม่าซึ่งตามมอญเข้ามา ในคืนหนึ่งพระองค์ได้พลัดหลงทางออกไปจากกองทัพ ทำให้ไพร่พลทหารของพระองค์พากันออกติดตามก็ไม่พบ ประจวบกับภูมิประเทศซึ่งในสมัยนั้นเป็นป่าทึบรกชัฏ ในเวลากลางคืนเดือนมืดทำให้ยากแก่การติดตาม ทหารทุกคนก็ล้ากำลังลงจึงพากันหยุดพัก ขณะที่ทหารไทยเหล่านั้นพักอยู่ก็เกิดปาฏิหารย์ มีแสงสว่างพุ่งสู่ท้องฟ้าพร้อมกับได้ยินเสียงม้าร้องอื้ออึง ทหารที่พักอยู่นั้นต่างก็พากันรีบตรงไปหาจุดที่มี แสงสว่างนั้น พอไปถึงจึงเห็นพระเจ้าตากสินประทับม้าพระที่นั่งกลางลานนั้น มีแสงสว่างออกมาจากพระวรกาย พรั่งพร้อมไปด้วยทหารพม่าประมาณ 50 คน คุกเข่าหมอบกราบสวามิภักดิ์ยอมแพ้อยู่เบื้องหน้า ทหารไทยต่างตกตะลึงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างปาฏิหารย์นั้น ประจวบกับเวลาฟ้าสางพอดี ต่อมาบริเวณนั้นเรียกว่า “ลานสาง”

     อุทยานแห่งชาติลานสาง มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอเมือง จังหวัดตาก มีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์ด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด เป็นป่าต้นน้ำลำธาร มีสัตว์ป่าชุกชุม และมีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติ ทิวทัศน์ที่สวยงามร่มรื่น เช่น น้ำตกที่งดงามหลายแห่ง ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันทั่วไป คือ “น้ำตกลานสาง” เหมาะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจเป็นอย่างยิ่ง อุทยานแห่งชาติลานสาง มีเนื้อที่ประมาณ 65,000 ไร่ หรือ 104 ตารางกิโลเมตร เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 15 ของประเทศ

ลักษณะภูมิประเทศ

     สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน มีเทือกเขาถนนธงชัย ตั้งอยู่กึ่งกลางพื้นที่อุทยานแห่งชาติ สัณฐานของเทือกเขาเรียงตัวเป็นแนวยาวไปตามทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มียอดเขาอุมยอมเป็นยอดเขาสูงสุด สูงประมาณ 1,065 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง พื้นที่อุทยานแห่งชาติเกือบทั้งหมดเป็นพื้นที่แบบเทือกเขามีที่ราบน้อยมาก มีความลาดชันทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้มากกว่าทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวคือจุดต่ำสุดทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 910 เมตร ในขณะที่จุดต่ำสุดทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือสูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลางเพียง 210 เมตร และบริเวณลาดต่ำทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือแผ่กว้างออกไปมากกว่าบริเวณลาดต่ำทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ธรณีสัณฐานเช่นนี้ทำให้เกิดบริเวณอับฝน (Rain – shadow) ตามแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเขตอุทยานแห่งชาติ การเปลี่ยนแปลงทางธรณีของพื้นที่อุทยานแห่งชาติลานสาง จำแนกช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงออกได้เป็น 3 ช่วงที่ปรากฏชัดเจน ในช่วงแรกเป็นช่วงเวลาการตกทับถมของตะกอน หินและดินประเภทต่างๆ ตามขอบทวีป ประมาณเวลานับเป็นพันปีขึ้นไปในมหายุค Precambrian ช่วงที่สองเกิดการเปลี่ยนแปลงสัณฐานภูมิประเทศที่สำคัญ 2 ลักษณะคือ ลักษณะแรกเป็นการโก่งหรือโค้งตัวของเปลือกโลกในยุค Carboniferous (ประมาณ 350 ล้านปีที่ผ่านมา) ปรากฏการณ์ชั้นหินดังกล่าวทำให้ขอบทวีปแผ่กว้างออกไปในทะเล ช่วงที่สามมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ เกิดการบิดหรือหักตัวของชั้นหินที่โก่งหรือโค้งตัวนั้น ทำให้เกิดภูเขาสูงและหุบเหวตามเชิงเขา

     ลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาเช่นนี้ ก่อให้เกิดหินชนิดต่างๆ ในเขตอุทยานแห่งชาติ จากการสำรวจพบว่ามีหินไนส์แผ่เป็นบริเวณกว้าง บางแห่งมีหินแปร เช่น หินอ่อน และหินปูน แทรกอยู่ในบริเวณที่มีการจัดตัวของชั้นหิน และพบหินตะกอน ประเภทหินดินดาน บริเวณใกล้ผิวดินเป็นบางแห่งอีกด้วย สามารถพบเห็นหินเหล่านี้บริเวณน้ำตกลานสาง ซึ่งมีอายุแต่ละก้อนอย่างน้อย 350 ล้านปี

ลักษณะภูมิอากาศ

      อุทยานแห่งชาติลานสางแบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม- ตุลาคม ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มกราคม ฤดูร้อน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน อุณหภูมิสูงสุด 43 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ำสุด 7 องศาเซลเซียส

พรรณไม้และสัตว์ป่า
      อุทยานแห่งชาติลานสางเป็นจุดนัดพบของป่าประเภทต่างๆ ได้แก่ ป่าดิบแล้ง พบตามหุบเขาและบริเวณริมห้วยมีไม้สมพง กะบก ตะเคียนหิน เป็นพรรณไม้เด่น ป่าดิบเขา พบขึ้นเป็นหย่อมๆ บริเวณเทือกเขาสูงใกล้สันปันน้ำ พันธุ์ไม้ที่ขึ้นส่วนใหญ่เป็นพวกไม้ก่อ และทะโล้ ป่าสนเขา ขึ้นอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 700 เมตร ไม้ที่พบเป็นพวกสนสองใบ อาจจะขึ้นปนอยู่กับเต็ง รัง เหียง พลวง และก่อชนิดต่างๆ ป่าเบญจพรรณ เป็นป่าที่ไม่รกทึบ พบ แดง ประดู่ มะค่าโมง สัก เสี้ยว เปล้า เก็ดแดง ตะคร้อ สมอ และไผ่หลายชนิด และ ป่าเต็งรัง พบบนเนินเขาสภาพพื้นที่มีหินโผล่ มีไม้เต็ง รัง และมะขามป้อมเป็นพันธุ์ไม้เด่น

     สัตว์ป่าที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ เลียงผา เก้ง กวางป่า เสือไฟ หมูป่า ลิง ค่าง บ่าง ชะนี อีเห็น ชะมด กระต่ายป่า บ่าง และกิ้งก่าบิน เป็นที่น่าจะศึกษาชีวิตความเป็นอยู่เป็นอย่าง

แหล่งท่องเที่ยว

น้ำตกผาลาด
เป็นน้ำตกชั้นแรกที่รอต้อนรับการมาเยือน ห่างจากด่านเก็บค่าบริการผ่านเข้าเขตอุทยานแห่งชาติประมาณ 200 เมตร บริเวณหน้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติลานสาง น้ำตกผาลาดมีลักษณะเป็นแผ่นหินลาดชันเล็กน้อย ขนาดกว้างประมาณ 25 เมตร กระแสน้ำของห้วยลานสางจะไหลบ่าไปตามแผ่นหินแผ่กระจายออกเป็นแผ่นบางๆ แล้วค่อยรวมตัวไหลลงแอ่งเล็กๆ ใกล้ๆ กับบริเวณน้ำตกจะมีพื้นที่เป็นลานหินกว้างสำหรับกางเต็นท์พักแรม หรือลองเดินข้ามถนนไปอีกฝั่งก็เป็นสวนสมุนไพรที่รวบรวมเอาสมุนไพรชนิดต่างๆ ที่พบภายในป่าลานสางนำออกมาให้ผู้สนใจได้ศึกษา และหากผู้ใดที่อยากรู้สรรพคุณของสมุนไพรแต่ละชนิด อุทยานแห่งชาติลานสางก็ได้จำแนกสมุนไพรเป็นหมวดหมู่พร้อมกับสรรพคุณของสมุนไพรไว้ด้วย

น้ำตกลานเลี้ยงม้า
อยู่ตอนต้นของลำห้วยลานสางถัดจากน้ำตกผาลาดประมาณ 200 เมตร มีลักษณะเป็นเนินเตี้ยกลางเว้าเป็นช่องว่างประมาณ 6 เมตร กระแสน้ำที่ไหลมาตามลำห้วยลานสาง เมื่อไหลถึงเนินเตี้ยๆ น้ำจะไหลมาตามช่องหินซึ่งแคบเล็กลง น้ำจะถูกบีบจนมีระดับน้ำสูงขึ้นพุ่งผ่านยอดน้ำตก ด้วยเสียงของน้ำที่ไหลจากที่สูงตกลงสู่แอ่งน้ำโดยไม่กระทบกับก้อนหิน จนเกิดเป็นเสียงดังต่างจากน้ำตกผาลาด รอบๆ บริเวณน้ำตกดูมืดครึ้มไปด้วยเรือนยอดของพรรณไม้นานาชนิดที่ขึ้นอยู่ตลอดแนวน้ำตก เหนือตัวน้ำตกมีสะพานไม้เพื่อเป็นทางเชื่อมไปยังลานหินอีกฟากหนึ่ง และเป็นเส้นทางที่นำไปสู่เส้นทางเดินเท้าศึกษาธรรมชาติจากน้ำตกลานเลี้ยงม้าไปยังศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
เมื่อครั้งในอดีตมีตำนานเล่าว่าน้ำตกแห่งนี้เคยเป็นที่หยุดพักไพร่พลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อครั้งเสด็จยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ครั้งที่สอง จึงก่อเกิดเป็นตำนานความเป็นมาของลานสางจวบจนปัจจุบัน

น้ำตกลานสาง
อยู่ตอนบนของห้วยลานสาง ถัดขึ้นไปจากน้ำตกลานเลี้ยงม้าประมาณ 2 กิโลเมตร อยู่ไม่ไกลจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยว เพียง 150 เมตร เดินเลียบไปตามไหล่เขาแต่ต้องเดินด้วยความระมัดระวังเพราะทางเดินเท้าค่อนข้างแคบ สองข้างทางเดินในช่วงฤดูฝนจะพบกับพืชพื้นล่างเล็กๆ จำพวกเปราะ กระเจียวขาว และกล้าไม้ของต้นเสลาดำขึ้นอยู่ สักพักก็จะถึงน้ำตกลานสางโดยต้องเดินลงไปเบื้องล่าง น้ำตกลานสางมีความสูงประมาณ 40 เมตร สายน้ำจะไหลพุ่งออกจากซอกเขา แล้วหักเหลี่ยมลดหลั่นลงมา 3 ชั้น รวมตัวลงสู่แอ่งน้ำตกลานเลี้ยงม้า

น้ำตกผาน้อย
อยู่สูงขึ้นไปจากลำห้วยลานสาง ห่างจากน้ำตกผาผึ้ง 150 เมตร มีลักษณะเป็นช่องแคบๆ มีความสูงประมาณ 10 เมตร น้ำตกจะไหลรวมตัวพุ่งออกจากซอกเขากระจายตัวลงสู่แอ่งน้ำด้านล่าง

น้ำตกผาเท
เป็นน้ำตกชั้นสุดท้ายในเส้นทางเดินเท้า อยู่สูงขึ้นไปจากลำห้วยห่างจากน้ำตกผาน้อยประมาณ 1,350 เมตร มีลักษณะเป็นหน้าผาสูงชัน สูงประมาณ 25 เมตร กระแสน้ำจะไหลตามซอกเขาอย่างรวดเร็วและตกลงสู่แอ่งน้ำเบื้องล่างจนเกิดเสียงดังไปทั่วบริเวณ บรรยากาศรอบน้ำตกจะล้อมรอบไปด้วยผืนป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณ บริเวณรอบน้ำตกจะมีที่สำหรับนั่งพัก มีแอ่งน้ำสำหรับเล่นน้ำ

น้ำตกผาผึ้ง
อยู่ห่างจากน้ำตกลานสางประมาณ 600 เมตร วันใดที่ท้องฟ้าอากาศแจ่มใสจะยิ่งเพิ่มความงามแก่น้ำตกอย่างมาก เมื่อสายน้ำไหลลงมาจากหน้าผาที่สูงประมาณ 30 เมตร เอียงลาดชันลดหลั่นลงมาตามชั้นเล็กๆ และแผ่กว้างออกเป็นผืนน้ำบางๆ แล้วแยกออกเป็น 2 สาย ไหลไปตามลำธารเล็กๆ ภายในบริเวณน้ำตก ทำให้บริเวณนั้นเย็นชุ่มชื่นตลอดเวลา สภาพแวดล้อมโดยรอบมีลักษณะเป็นป่าเบญจพรรณที่อุดมไปด้วยพรรณไม้น้อยใหญ่ บรรยากาศเงียบสงบเหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจ

น้ำตกท่าเล่
อยู่บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ลส.2 (ท่าเล่) น้ำตกจะไหลพุ่งออกมาจากซอกเขา ลงมาตามชั้นหินแล้วทิ้งตัวไหลลงสู่แอ่งน้ำเบื้องล่าง

ยอดเขาอุมยอม
บนยอดเขาอุมยอม สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 800 เมตร มีป่าสนสองใบ ขึ้นอยู่เป็นลานกว้างมีเนื้อที่ประมาณ 50 ไร่ เป็นเส้นทางเดินป่าระยะไกล และเหมาะแก่การกางเต็นท์พักค้างแรมในป่า สามารถมองเห็นทิวทัศน์และสภาพของผืนป่าได้อย่างกว้างไกล

จุดชมทิวทัศน์ดอยผาแดง
อยู่บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ลส.3 (ดอยผาแดง) บนความสูง 1,000 เมตร มีสภาพป่าเป็นป่าดิบแล้ง ป่าสนเขา ป่าเบญจพรรณ สลับกับทุ่งหญ้า อากาศจะมีความหนาวเย็นตลอดทั้งปี มีพื้นที่ราบบนเนินเขาเป็นบริเวณกว้างมองเห็นทิวทัศน์สวยงาม เหมาะสำหรับกางเต็นท์พักแรม ปั่นจักรยานชื่นชมธรรมชาติและวิถีชีวิตชาวไทยภูเขาเผ่าต่างๆ และห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติไปทางทิศเหนือประมาณ 1.5 กิโลเมตร มีน้ำตกเขาหินปูนที่สวยงาม เป็นต้นกำเนิดลำห้วยลานสาง
รอบๆ หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติมีร่องรอยการตั้งถิ่นฐานและแนวทางการเดินทัพไทย-พม่า จากหลักฐานที่พบ เช่น ขอสับช้าง มีดดาบ และข้าวของเครื่องใช้ในการเดินทัพ และห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติไปทางทิศตะวันออกประมาณ 1 กิโลเมตร มีต้นพระเจ้าห้าพระองค์ขนาดใหญ่

จุดชมทิวทัศน์เขาน้อย
ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร ทางขึ้นอยู่ใกล้กับศาลเจ้าพ่อ บริเวณศูนย์บริการนักท่องเที่ยว สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของผืนป่าในอุทยานแห่งชาติลานสาง และไกลไปจนถึงตัวเมืองตาก

จุดชมทิวทัศน์เขาแสนห่วง
อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 400 เมตร สามารถมองเห็นวิถึชีวิตหมู่บ้านและสภาพผืนป่าได้อย่างกว้างไกล นอกจากนี้อุทยานแห่งชาติลานสางได้จัดทำเส้นทางนี้เป็นเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติอีกด้วย

สิ่งอำนวยความสะดวก
     มีบ้านพักให้บริการแก่นักท่องเที่ยว อุทยานแห่งชาติจัดเตรียมเต็นท์และสถานที่กางเต็นท์ ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว การสำรองที่พักเต็นท์สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดและสำรองที่พักเต็นท์ได้กับอุทยานแห่งชาติโดยตรง สำหรับอัตราค่าบริการอยู่ระหว่าง 250-800 บาท ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาดของเต็นท์ และอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ เช่น
รายการที่ 1
- เต็นท์ ขนาด 3 คน ราคา 250 บาท/คืน
- เต็นท์โดม ขนาด 5 คน ราคา 400 บาท/คืน
- เต็นท์เคบิน ขนาด 6 คน ราคา 500 บาท/คืน
- เต็นท์ค่าย ขนาด 6 คน ราคา 500 บาท/คืน
แต่ละประเภทจะได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก ชุดเครื่องนอน ประกอบด้วย หมอน ที่รองนอน ถุงนอน และชุดสนาม
รายการที่ 2
- เต็นท์ ขนาด 2 คน ราคา 400 บาท/คืน
- เต็นท์โดม ขนาด 4 คน ราคา 800 บาท/คืน
- เต็นท์เคบิน ขนาด 4 คน ราคา 800 บาท/คืน
- เต็นท์ค่าย ขนาด 4 คน ราคา 800 บาท/คืน
แต่ละประเภทจะได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก ชุดเครื่องนอน ประกอบด้วย หมอนใหญ่ ที่นอน ผ่าห่ม และชุดสนาม
กรณีที่นำเต็นท์ไปกางเอง ต้องเสียค่าบริการสถานที่ 30 บาท/คน/คืน หากไม่มีเครื่องนอนก็ใช้บริการเครื่องนอนและอุปกรณ์สนามของอุทยานฯ มีอัตราค่าบริการเครื่องนอนกรณีนำเต็นท์ไปเอง มีดังนี้
1) ชุดเครื่องนอน ประกอบด้วย หมอน ถุงนอน ที่รองนอน และชุดสนาม ราคา 150 บาท/ชุด/คืน
2) ชุดเครื่องนอน ประกอบด้วย หมอนใหญ่ ที่นอน ผ่าห่ม และชุดสนาม ราคา 200 บาท/ชุด/คืน
มีที่จอดรถให้บริการแก่นักท่องเที่ยว
มีร้านอาหารไว้บริการนักท่องเที่ยว
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาขอรับบริการข้อมูลได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ระหว่างเวลา 8.00 - 16.30 น.

การเดินทาง
     จากกรุงเทพฯ ให้เดินทางตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (สายเอเชีย) ก่อนถึงจังหวัดตากประมาณ 7 กิโลเมตร ให้เลี้ยวซ้าย ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 105 (สายเอเชีย 2 ตาก-แม่สอด) จนถึงหลักกิโลเมตรที่ 12 ให้เลี้ยวซ้ายตรงป้ายอุทยานแห่งชาติลานสาง ไปตามถนนอีกประมาณ 1 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติลานสาง ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 430 กิโลเมตร

สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติลานสาง อ. เมืองตาก จ. ตาก 63000 โทรศัพท์ +66 5551 9278 โทรสาร +66 5551 9470 อีเมล reserve@dnp.go.th

อุทยานแห่งชาติ

อุทยานแห่งชาติศรีลานนา
อุทยานแห่งชาติออบหลวง
อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง
อุทยานแห่งชาติแม่ฝาง
อุทยานแห่งชาติดอยเวียงผา
อุทยานแห่งชาติขุนขาน
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
อุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้
อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย
อุทยานแห่งชาติออบขาน
อุทยานแห่งชาติแม่วาง
อุทยานแห่งชาติแม่โถ
อุทยานแห่งชาติเชียงดาว
อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล
อุทยานแห่งชาติแม่ปิง
อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน
อุทยานแห่งชาติแม่วะ
อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท
อุทยานแห่งชาติดอยจง
อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน
อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว
อุทยานแห่งชาติคลองตรอน
อุทยานแห่งชาติแม่ยม
อุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย
อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง
อุทยานแห่งชาติศรีน่าน
อุทยานแห่งชาติถ้ำสะเกิน
อุทยานแห่งชาติดอยภูคา
อุทยานแห่งชาติขุนสถาน
อุทยานแห่งชาตินันทบุรี
อุทยานแห่งชาติขุนน่าน
อุทยานแห่งชาติแม่จริม
อุทยานแห่งชาติภูซาง
อุทยานแห่งชาติแม่ปืม
อุทยานแห่งชาติดอยภูนาง
อุทยานแห่งชาติดอยหลวง
อุทยานแห่งชาติขุนแจ
อุทยานแห่งชาติลำน้ำกก
อุทยานแห่งชาติสาละวิน
อุทยานแห่งชาติแม่เงา
อุทยานแห่งชาติถ้ำปลา-ผาเสื่อ
อุทยานฯน้ำตกแม่สุรินทร์
อุทยานแห่งชาติแม่วงก์
อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า
อุทยานแห่งชาติคลองลาน
อุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญ
อุทยานแห่งชาติขุนพะวอ
อุทยานแห่งชาติลานสาง
อุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช
อุทยานแห่งชาติแม่เมย
อุทยานแห่งชาติรามคำแหง
อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย
อุทยานฯน้ำตกชาติตระการ
อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง
อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า
อุทยานแห่งชาติแก่งเจ็ดแคว
อุทยานแห่งชาติตาดหมอก
อุทยานแห่งชาติเขาค้อ
อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว

 


เธšเธฃเธดเธฉเธฑเธ— เธŠเน‰เธฒเธ‡เธ™เน‰เธญเธข เธฎเธญเธฅเธดเน€เธ”เธขเนŒ เธˆเธณเธเธฑเธ”

100/19 เธซเธกเธนเนˆเธšเน‰เธฒเธ™เธชเธดเธฃเธ˜เธฒเธ™เธต เธกเธซเธฒเธชเธงเธฑเธชเธ”เธดเนŒ เธšเธฒเธ‡เธเธฃเธงเธข เธ™เธ™เธ—เธšเธธเธฃเธต 11130
โทรศัพเธ—เนŒ 090 909 9499 Line : @ChangnoiHoliday Facebook : @ChangnoiHoliday
Copyright © 2552 Changnoi Holiday Co., Ltd. All rights reserved. Powered by Lakkai Cyber

เธš
เธฃเธดเธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธ™เธณเน€เธ—เธตเนˆเธขเธง เธ—เธฑเน‰เธ‡เนƒเธ™เนเธฅเธฐเธ•เนˆเธฒเธ‡เธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจ เธ—เธธเธเธ—เธตเนˆ เธ—เธตเนˆเธ„เธธเธ“เธญเธขเธฒเธเน„เธ› เนƒเธ™เธฃเธฒเธ„เธฒเธ—เธตเนˆเธ„เธธเธ“เธเธณเธซเธ™เธ”เน„เธ”เน‰
เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธญเธดเธ™เน€เธ”เธตเธข l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธชเธงเธดเธช l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเน‚เธ„เธฃเน€เธญเน€เธŠเธตเธข l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธฎเนˆเธญเธ‡เธเธ‡ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเน„เธ•เน‰เธซเธงเธฑเธ™ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธญเธฑเธ‡เธเธคเธฉ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธˆเธญเธฃเนŒเน€เธˆเธตเธข l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธˆเธตเธ™ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธเธฑเธกเธžเธนเธŠเธฒ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเน€เธเธฒเธซเธฅเธต l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธšเธฃเธนเน„เธ™ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธ”เธนเน„เธš l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธกเธฑเธฅเธ”เธตเธŸเธชเนŒ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธขเธนเน€เธ„เธฃเธ™ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธญเธดเธ•เธฒเธฅเธต l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธŸเธดเธฅเธดเธ›เธ›เธดเธ™เธชเนŒ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธกเธฒเน€เธเนŠเธฒ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธจเธฃเธตเธฅเธฑเธ‡เธเธฒ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเนเธ„เธ™เธฒเธ”เธฒ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธ™เธดเธงเธ‹เธตเนเธฅเธ™เธ”เนŒ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธญเธญเธชเน€เธ•เธฃเน€เธฅเธตเธข l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธ”เธนเธšเธญเธฅ l เธฃเธฑเธšเธ—เธณเธงเธตเธ‹เนˆเธฒ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเน€เธ‚เธฒเธชเธ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธซเธฅเธตเน€เธ›เนŠเธฐ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธ™เนˆเธฒเธ™ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธชเธดเธกเธดเธฅเธฑเธ™ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธžเธตเธžเธต l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธ เธนเธเธฃเธฐเธ”เธถเธ‡ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธ เธนเธชเธญเธขเธ”เธฒเธง l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเน€เธŠเธตเธขเธ‡เธ„เธฒเธ™ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธชเธฒเธกเธžเธฑเธ™เน‚เธšเธ l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธ—เธตเธฅเธญเธ‹เธน l เธ—เธฑเธงเธฃเนŒเธ›เธฒเธข